วัดสมานรัตนาราม #

วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร) เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง บ้านหมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว (ตำบลไผ่แสวกเดิม) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับเครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง มีเนื้อที่ตามหน้าโฉนดที่ตั้งวัด ๒๖ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา (ภายหลังปี ๒๕๕๒-๒๕๕๗ พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ ได้ทำการรวบรวมผู้มีจิตศรัทธาจัดซื้อที่ดินถวายวัดจำนวน ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๓๖ ตารางวา)
ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ใสมัยนั้น เล่าสืบกันต่อกันมาว่า มีครอบครัวหนึ่งอยู่ในฐานนะมั่นคง เป็นคหบดี มีคนเคารพนับถือ คือ ครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋าย) เมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาทั้ง ๒ ของท่านขุนสมานจีนประชา นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง สืบสมาน (เพิ่มนคร) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น วิริยะพานิช ผู้เป็นน้องสาว (ต่อมาภายหลังได้สร้างพระปรางค์ขึ้นหน้าโบสถ์ ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่) มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ทรงเสด็จทางชลมารคผ่านมาได้ทรงแวะเยี่ยมวัดขุนสมานจีนประชา (หลวงสมาน เพิ่มนคร) และได้มีชาวบ้านผู้หนึ่งชื่อ นายเหว่า โพนสุวรรณ์ นำนกกวักเผือกถวาย ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย) เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร เป็นวัดราษฎร์คณะสงฆ์ปกครองวัดสมัยนั้น เป็นฝ่ายมหานิกาย แต่ปกครองไม่นานนัก ผู้สร้างวัดได้ถวายพระในคณะธรรมยุต มีพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโพ) เป็นประธานสงฆ์ในการรับถวายนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียกวัดนี้ว่า “วัดนางทิม นางผ่อง เพิ่มนคร ใหม่ขุนสมาน” ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จออกตรวจสังฆมณฑลทางเรือตามลำแม่น้ำบางปะกง พระองค์ได้ขึ้นทรงเยี่ยมวัด ทรงเห็นป้ายชื่อวัดว่าไม่สอดคล้องกับตำบลไผ่แสวก พระองค์จึงทรงประทานนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดไผ่แสวก” เพื่อให้สอดคล้องกับตำบลดังกล่าว ครั้นเวลาล่วงเลยมานานหลายสิบปี ทางราชการได้ยุบตำบลไผ่แสวกไปรวมกับตำบลบางแก้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ มีพระเถระผู้ใหญ่พร้อมด้วยภิกษุสามเณรชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาต่างก็มีความเห็นพ้องกันว่า สมควรที่จะเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ คือให้มีคำว่า “สมาน” เพราะเป็นตระกูลที่สร้างวัด และคำว่า “แก้ว” เพื่อให้สอดคล้องกับตำบล จึงขออนุญาตทางราชการตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดสมานรัตนาราม” มาจนทุกวันนี้
ตามคำบอกเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่ใสมัยนั้น เล่าสืบกันต่อกันมาว่า มีครอบครัวหนึ่งอยู่ในฐานนะมั่นคง เป็นคหบดี มีคนเคารพนับถือ คือ ครอบครัวท่านขุนสมานจีนประชา (เดิมชื่อจ๋าย) เมื่อท่านขุนสมานจีนประชาถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาทั้ง ๒ ของท่านขุนสมานจีนประชา นางทิม สืบสมาน และ นางผ่อง สืบสมาน (เพิ่มนคร) พร้อมด้วย นางยี่สุ่น วิริยะพานิช ผู้เป็นน้องสาว (ต่อมาภายหลังได้สร้างพระปรางค์ขึ้นหน้าโบสถ์ ปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่) มีความศรัทธาคิดจะสร้างวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สามีผู้ล่วงลับ จึงได้ดำเนินการสร้างวัด ปรากฏตามหลักฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ทรงเสด็จทางชลมารคผ่านมาได้ทรงแวะเยี่ยมวัดขุนสมานจีนประชา (หลวงสมาน เพิ่มนคร) และได้มีชาวบ้านผู้หนึ่งชื่อ นายเหว่า โพนสุวรรณ์ นำนกกวักเผือกถวาย ณ ที่วัดแห่งนี้ด้วย)
เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร เป็นวัดราษฎร์คณะสงฆ์ปกครองวัดสมัยนั้น เป็นฝ่ายมหานิกาย แต่ปกครองไม่นานนัก ผู้สร้างวัดได้ถวายพระในคณะธรรมยุต มีพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโพ) เป็นประธานสงฆ์ในการรับถวายนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปมักเรียกวัดนี้ว่า “วัดนางทิม นางผ่อง เพิ่มนคร ใหม่ขุนสมาน” ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จออกตรวจสังฆมณฑลทางเรือตามลำแม่น้ำบางปะกง พระองค์ได้ขึ้นทรงเยี่ยมวัด ทรงเห็นป้ายชื่อวัดว่าไม่สอดคล้องกับตำบลไผ่แสวก พระองค์จึงทรงประทานนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดไผ่แสวก” เพื่อให้สอดคล้องกับตำบลดังกล่าว ครั้นเวลาล่วงเลยมานานหลายสิบปี ทางราชการได้ยุบตำบลไผ่แสวกไปรวมกับตำบลบางแก้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ มีพระเถระผู้ใหญ่พร้อมด้วยภิกษุสามเณรชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาต่างก็มีความเห็นพ้องกันว่า สมควรที่จะเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ คือให้มีคำว่า “สมาน” เพราะเป็นตระกูลที่สร้างวัด และคำว่า “แก้ว” เพื่อให้สอดคล้องกับตำบล จึงขออนุญาตทางราชการตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดสมานรัตนาราม” มาจนทุกวันนี้
ที่อยู่
หมู่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐
ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยว
เฟซบุ๊ก
๑. เพจ วัดสมานรัตนาราม จ.ฉะเชิงเทรา
๒. เพจ Watsaman Rattanaram
ไลน์ @watsaman
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
๐๘๑ ๙๘๓ ๐๔๐๐ (เจ้าอาวาส)
วัน เวลา เปิดทำการ
เปิดทำการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ช่วงเดือนที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว
มกราคม – ธันวาคม
ขนาดพื้นที่
ตามหน้าโฉนดที่ตั้งวัด ๗๒ ไร่ ๑ งาน ๓๖ ตารางวา
การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่อวัน
ไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว
การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
ทั้งทางบก และทางน้ำ
ลักษณะเด่นของแหล่งท่องเที่ยว
พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
งานเทศกาลหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว
ไม่มี